รีเซต

เปิดผังกระบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค

เปิดผังกระบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค
9 พฤศจิกายน 2555 ( 04:22 )
34.2K

By อักษรจรจัด

 

 

 

เรียงจากประตูหน้า

1.เรือทองขวานฟ้า  Thong Kwan Fa Barge
2.เรือทองบ้าบิ่น  Thong Ba Bin Barge
3.เรือเสือทะยานชล  Sua Thayan Chon
4.เรือเสือคำรนสินธุ์  Sua Kamron Sindh
5.เรืออีเหลือง (เรือกลองนอก)  Drum Barge
6.เรือดั้ง1  Dang Barge1
7.เรือดั้ง2  Dang Barge2
8.เรือดั้ง3  Dang Barge3
9.เรือดั้ง4  Dang Barge4
10. เรือตำรวจ1  Police Barge1
11.เรือดั้ง5  Dang Barge5
12. เรือดั้ง6  Dang Barge6
13.เรือดั้ง7   Dang Barge 7
14.เรือดั้ง8   Dang Barge 8
15.เรือดั้ง9   Dang Barge 9
16.เรืออสูรวายุภักษ์ Asura Vayubhaks
17.เรือตำรวจ2  Police Barge2
18.เรืออสูรปักษี Asura Paksi
19.เรือดั้ง10  Dang Barge 10
20.เรือดั้ง11   Dang Barge 11
21. เรือกระบี่ปราบเมืองมาร  Krabi Prab Maung Marn
22. เรือกระบี่ราญรอนราพณ์ Krabi Ran Ron Rap
23.เรือดั้ง12   Dang Barge 12
24.เรือดั้ง14  Dang Barge 14
25.เรือดั้ง13  Dang Barge 13
26. เรือพาลีรั้งทวีป Pali Rang Thaweep
27. เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช The Royal Barge ANATANAGARAJ
28. เรือสุครีพครองเมือง  Sukreep Krong Muang
29.เรือดั้ง16   Dang Barge 16
30.เรือดั้ง15   Dang Barge 15
31. เรือดั้ง17   Dang Barge 17
32. เรือครุฑเหินเห็จ Garuda Hurn Hed
33. เรือแตงโม (เรือกลองใน) Drum Barge
34. เรือครุฑเตร็จไตรจักร  Garude Trej Traichak
35.เรือดั้ง18   Dang Barge 18
36.เรือดั้ง 20   Dang Barge 20
37.เรือดั้ง19   Dang Barge 19
38. เรือดั้ง21   Dang Barge 21
39. เรือเอกชัยเหินหาว Ekachai Hern How
40. เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์  The Royal Barge SUPHANNAHONGSE
41. เรือเอกชัยหลาวทอง   Ekachai Lao Thong
42. เรือดั้ง22  Dang Barge 22
43.เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่9  The Royal Barge NARAI SONG SUBAN H.M. RAMA IX
44. เรือแซง1  Saeng1
45. เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์  The Royal Barge ANEKCHATBHUCHONGE
46. เรือแซง2  Saeng2
47. เรือแซง3  Saeng3
48. เรือแซง4   Saeng4
49. เรือแซง5  Saeng5
50. เรือตำรวจ3 (เรือกรมวัง)  Police Barge
51. เรือแซง6  Saeng6
52. เรือแซง7  Saeng7

 

  

 

   ศัพท์ควรรู้ก่อนชมพระราชพิธี

ในกระบวนพยุหยาตราชลมารค นั้น เรือที่สำคัญที่สุดคือ เรือพระที่นั่ง ซึ่งเป็น เรือที่พระมหากษัตริย์ประทับ ถ้าหากจะเทียบประเภทกับเรือรบโบ ราณแล้วเรือชนิดนี้ก็คือเรือไชยนั่นเอง เรือพระที่นั่งทุกลำจะประดับประดา และเขียนลวดลายวิจิตรยิ่งแต่มีข้อที่แตกต่างจากเรือลำอื่นก็คือเรือพระที่นั่ง จะไม่มีการกระทุ้งเส้าให้จังหวะฝีพาย โดยเปลี่ยนมาใช้กรับแทน นอกเหนือจากนี้แล้ว เรือพระที่นั่งยังมีชื่อที่เรียกต่าง ๆ ออกไป ได้แก่

     – เรือต้น คือ เรือพระที่นั่งของพระมหากษัตริย์ ซึ่งในภายหลังหมายถึงเรือลำที่เสด็จ ฯ ลำลองเป็นการประพาสต้น

     – เรือพระที่นั่งทรง , เรือพระที่นั่งรอง คือ เรือลำที่พระมหากษัตริย์ประทับ และขณะเดียวกันก็มี เรือพระที่นั่งอีกลำสำรองไว้ในกรณีที่เรือพระที่นั่ง ทรงชำรุด

     – เรือพลับพลา คือ เรือที่ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์เปลี่ยนเครื่องทรง

     – เรือพระที่นั่งกิ่ง เป็นเรือชั้นสูงสุดของเรือพระที่นั่ง ซึ่งจะสวยงามเป็นพิเศษ มีความเป็นมาว่ากษัตริย์ไทยในสมัยอยุธยา พระองค์หนึ่งได้รับชัย ชนะกลับจากสงคราม มีผู้หักกิ่งไม้มาปักเข้าที่หัวเรือ นับแต่นั้นมาก็มีการเขียนลายกิ่งไม้ประดับที่หัวเรือด้วยและโปรดเกล้าฯให้เรียกว่า “เรือพระที่นั่งกิ่ง”

 

     – เรือพระที่นั่งเอกชัย เป็นเรือพระที่นั่งเกือบเทียบเท่าเรือพระที่นั่งกิ่ง มีการแกะสลักลวดลายสวยงามเช่นกันมักโปรดเกล้าฯให้พระบรมวงศานุวงศ์ ประทับในเรือพระที่นั่งเอกชัยร่วมไปในกระบวน พยุหยาตราชลมารค ครั้นถึง สมัยรัตนโกสินทร์ก็แทบจะไม่มีการแบ่งแยกชั้น เรือพระที่นั่งกิ่ง และเรือ พระที่นั่งเอกชัยเลย

     – เรือพระที่นั่งศรีสักหลาด เป็นเรือที่มักดาดกัญญาด้วยสักหลาดทุกลำ ต่อมาเรียกเพียงสั้น ๆ ว่า “เรือพระที่นั่งศรี” เรือพระที่นั่งชนิดนี้มักมีลวด ลายสวยงามตลอดข้างลำเรือ ใช้สำหรับการเสด็จฯ ลำลอง ไม่ได้นำเข้ากระบวนพระราชพิธีต่อมาภายหลังได้นำเข้ากระบวนพยุหยาตราด้วยเช่นกัน

     – เรือพระที่นั่งกราบ เรือพระที่นั่งลำเล็กสำหรับใช้ถ่ายลำเสด็จเข้าคูคลองเล็กๆ

     – เรือพระประเทียบ คือเรือที่นั่งสำหรับเจ้านายฝ่ายใน

  และเนื่องในวโรกาสมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 50 ปี ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 กองทัพเรือได้ร่วมเฉลิมฉลองวาระโอกาสอันสำคัญยิ่งนี้ ด้วยการ

สร้างเรือพระที่นั่งลำใหม่โดยใช้โขนเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณลำเดิมเป็นต้น แบบ เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงใช้ในพระราชพิธีสำคัญ ๆ ต่อไป และพระบาท

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานนามเรือพระที่นั่งลำใหม่นี้ว่า“ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ ” ซึ่งจะปรากฏ เป็นสัญลักษณ์แห่งพระบรมเดชานุภาพและเป็นเกียรติยศสำหรับแผ่นดินสืบไปชั่วกาลนาน

 

     

     เรือที่ประกอบอยู่ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งนอกจากเรือพระที่นั่งแล้วยังมีเรืออีกมากมายหลายซึ่งมีลักษณะหน้าที่ต่างๆกันออกไปซึ่ง ก็มี ดังนี้

     – เรือดั้ง คือ เรือที่ทำหน้าที่ป้องกันกระบวนหน้า เพราะคำว่า “ ดั้ง ” หมายถึง “ หน้า ” เรือดั้งเป็นเรือที่มีส่วนหัวตั้งสูงงอนขึ้นไปเป็นเรือไม้ก็มี เป็น เรือปิดทองก็มี

     – เรือพิฆาต เป็นเรือรูปสัตว์ที่เคลื่อนไหวรวดเร็ว ทำหน้าที่นำกระบวนเรือตับแรก เรือพิฆาต แม้จะเป็นเรือรูปสัตว์เช่นเดียวกับเรืออื่น ๆ แต่เป็นเรือ รูปสัตว์ชั้นรอง จึงเขียนรูปด้วยสีธรรมดาไม่ปิดทอง

     – เรือประตู คือ เรือที่ใช้คั่นระหว่างกระบวนย่อย

     – เรือแซง เรือเล็กและเร็ว จัดเป็นเรืออารักขาพระมหากษัตริย์

    –  เรือกัน เป็นเรือที่ป้องกันศัตรูมิให้จู่โจมมาถึงเรือพระที่นั่ง ใกล้ชิดยิ่งกว่าเรือแซง

 

     – เรือคู่ชัก คือ เรือไชยหรือเรือรูปสัตว์ที่ทำหน้าที่ลากเรือพระที่นั่ง ซึ่งใหญ่และหนักมากแต่ในบางครั้ง ฝีพายไม่เพียงพอ

     – เรือตำรวจ คือ เรือที่พระตำรวจหรือข้าราชการในพระราชสำนักลงประจำหน้าที่เป็นองครักษ์

     – เรือรูปสัตว์ มีหัวเรือเป็นศรีษะสัตว์ เรือเหล่านี้อาจจะเป็นเรือพิฆาต เรือเหล่าแสนยากร เรือพระที่นั่งได้ทั้งสิ้น สุดแท้แต่ความโอ่อ่าของเรือ ซึ่งใน สมัยต่าง ๆ เคยมีเรือรูปสัตว์ดังต่อไปนี้ คือ ราชสีห์ ม้า เลียงผา นกอินทรี สิงโต มังกร นาค ครุฑ ปักษี หงส์ เหรา กระโห้ ฯลฯ

     – เรือกระบวนปิดทอง เป็นเรือที่มีหัวปิดทองเป็นรูปต่าง ๆ สวยงาม ในสมัยรัชกาลที่ 1 เป็นเรือเอกชัยและเรือศรีษะสัตว์ทั้งสิ้น

     – เรือกลอง คือ เรือสัญญาณ ที่ให้เรืออื่นหยุดพายหรือจ้ำโดยใช้กลอง ต่อมาใช้แตรฝรั่งที่มีเสียงดังไกลกว่าแทนแต่คงเรียกเรือกลองเช่นเดิม

 

     เรือพระราชพิธีชนิดต่าง ๆ เหล่านี้มีหน้าที่สำคัญในกระบวนเรือรบโบราณตั้งแต่ครั้งในอดีต อีกทั้งยังมีคุณค่ายิ่งทางด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ ไทยเราเหล่าเรือที่ตกทอดมานี้จะได้รับการซ่อมแซมขึ้นใหม่อย่างสวยงาม เพื่อใช้ในกระบวนพยุหยาตราชลมารค ซึ่งไม่เพียงแต่แสดงแสนยานุภาพ อันยิ่งใหญ่ของกองทัพเรือไทยแต่เป็นความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ ที่ความยิ่งใหญ่แห่งวัฒนธรรมไทยจะได้ประจักษ์ต่อสายตานานาอารยประเทศ ไปอีกนานเท่านาน