รีเซต

เคล็ดลับ เตรียมยา ให้พร้อมก่อนเดินทาง พกไว้อุ่นใจชัวร์

เคล็ดลับ เตรียมยา ให้พร้อมก่อนเดินทาง พกไว้อุ่นใจชัวร์
แมวหง่าว
9 พฤษภาคม 2560 ( 07:00 )
5.5K

การเดินทางแต่ละครั้ง นอกจากจะต้องจองที่พัก ดูยานพาหนะหรือตั๋วโดยสาร ไปถึงเตรียมเสื้อผ้า และของใช้จำเป็นแล้ว ยา ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เราควรให้ความสำคัญ เพราะการเดินทางย่อมมีเรื่องไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นอาการของโรคภัยไข้เจ็บ ตลอดจนอุบัติเหตุต่างๆ ยิ่งถ้าไปในที่ที่ทุรกันดาร หรือห่างไกลโรงพยาบาลแล้ว การเตรียมยาไปให้พร้อม อาจจะพอช่วยแก้ไขสถานการณ์ความเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุนั้นได้ ดังนั้นเราจึงเรียงลำดับความสำคัญของการเตรียมยามา ดังนี้

 

1. ที่ต้องเตรียมไปอย่างแน่นอน ก็คือยาประจำตัวสำหรับคนที่เป็นโรคประจำตัว รวมถึงวิตามินและอาหารเสริมของแต่ละคน

 

เที่ยวญี่ปุ่น ต้องระวัง ยา 11 ชนิด ที่ห้ามนำเข้าประเทศญี่ปุ่นเด็ดขาด!

2. ยารับประทานแก้อาการต่างๆ ที่เป็นอาการทั่วไป ในการเดินทางทุกครั้ง จะต้องเตรียมยาแก้ปวด-ลดไข้, ยาแก้แพ้ (คลอเฟนิรามีน) ที่ใช้ได้ทั้งลดน้ำมูก แก้แพ้อากาศ รวมถึงแก้อาการคันได้ด้วย , ยาแก้ท้องเสียจำพวกยาฆ่าเชื้อในระบบทางเดินอาหารและลำไส้ , ผงถ่านหรือเม็ดคาร์บอนสำหรับแก้อาหารที่กินเข้าไปแล้วเกิดอาการแพ้หรือเป็นพิษ , ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร , น้ำเกลือแร่กรณีท้องเสียมากจากเสียน้ำ,ยาคลายกล้ามเนื้อ และยาแก้เมารถ (แต่ถ้าเป็นคณะที่มีผู้สูงอายุ แนะนำให้ติดยาหอมไปด้วย)

 

 

3. อันดับสุดท้ายที่เตรียมแล้วควรแยกไว้อีกถุงหนึ่ง ไม่ปะปนกันคือยาใช้ภายนอก จำพวกแอลกอฮอล์ (ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ที่ขายเป็นซองๆ จะสะดวกกว่าพกเป็นขวด) ,ยาใส่แผลจำพวกทิงเจอร์หรือเบตาดีน,พลาสเตอร์ยา,สำลี,คัตตอนบัด,ผ้าก๊อซและเทปกาวยึดผ้าก๊อซ,ผ้ายืดเฝือกอ่อนสำหรับพันหากเกิดอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อหรือกระดูก,ยานวดแก้ปวดกล้ามเนื้อ,ยาหม่อง,ยาดม แล้วก็พลาสเตอร์บรรเทาปวดที่เราเรียกกันว่า “กอเอี๊ยะ” นั่นเอง

 

 

แนะนำให้แยกยากิน และยาภายนอกไว้คนละถุง บรรจุซิปล็อค (หลังจากเปิดแต่ละครั้งต้องเช็คให้ดีว่าปิดให้สนิททุกครั้ง) เพื่อป้องกันน้ำและความชื้นเข้าไปในยา ส่วนจำนวนยาที่ติดตัวไป ให้คะเนง่ายๆ คือจัดไปให้เหลือไว้ก่อน เช่น หากไปเที่ยวสามวัน ก็คำนวณยาในปริมาณที่กินได้ทุกมื้อตามกำหนดของยาแต่ละชนิด แล้วคูณสองจำนวนวันที่จะเที่ยวเข้าไป คือจัดยาไปสำหรับกินทุกวันเพียงพอเป็นเวลาหกวัน เพื่อป้องกันปัญหาที่ไม่คาดฝัน เช่น เพื่อนร่วมทางของคุณป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ ตลอดจนแกะยาจากซองยาตกพื้นกินไม่ได้ ดังนั้น “เหลือดีกว่าขาด” แนะนำให้เตรียมไปให้เกินไว้ อุ่นใจกว่าแน่นอน

 

อัพเดทที่พักสุดชิลล์ ที่เที่ยวสุดมันส์ ที่กินสุดฮิป

ติดตาม travel.trueid.net ได้ที่

 


Facebook

Twitter


และ แอพพลิเคชั่น


TrueID Application

Add friend ที่ ID : @TrueID